ตัวดำเนินการ (Operator)

ในการเขียนโปรแกรมภาษาจาวาประกอบด้วย

1.ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator)เป็นตัวดำเนินการที่จำลองมาจากสมการทางคณิตศาสตร์ โดยในภาษาจาวาจะใช้เครื่องหมายต่างๆ แทนตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ดังนี้

preview_html_m68c458fe

 

กฎในการเรียงลำดับ ดังนี้

1.คำนวณสมการที่อยู่ภายในวงเล็บก่อนเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจากวงเล็บในสุด

2.ถ้าสมการที่เหลือไม่มีวงเล็บแล้ว จะเรียงลำดับดังนี้

2.1 คูณ, หาร และ mod จะถูกคำนวณก่อน โดยมีความสำคัญอยู่ในระดับเดียวกัน ถ้ามีหลายตัว จะเริ่มคำนวณจากซ้ายไปขวา

2.2 บวก และ ลบ จะถูกคำนวณเป็นลำดับถัดมา โดยมีความสำคัญอยู่ในระดับเดียวกัน ถ้ามีหลายตัว จะเริ่มคำนวณจากซ้ายไปขวา

Ex. 1 y = 2 * 5 * 6 + 3 * 4 + 7

ลำดับการทำงานคือ

1. 2 คูณ 5 ( y = 2 * 5 * 6 + 3 * 4 + 7 )

2. 10 คูณ 6 ( y = 10 * 6 + 3 * 4 + 7 )

3. 3 คูณ 4 ( y = 60 + 3 * 4 + 7 )

4. 60 บวก 12 ( y = 60 + 12 + 7 )

5. y = 72 + 7สุดท้าย ผลลัพธ์เท่ากับ 79

2.ตัวดำเนินการกำหนดค่า (Assignment Operator) คือตัวดำเนินการที่ใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับตัวแปร ทิศทางการทำงานจะเป็นจากขวาไปซ้าย คือกำหนดค่าทางขวาให้กับตัวแปรทางซ้าย สัญลักษณ์ที่ใช้คือ เครื่องหมายเท่ากับ ( = ) เช่น int number1 = 5; //กำหนดให้ตัวแปร number1 มีค่าเป็น 5เครื่องหมายเท่ากับ สามารถใช้กำหนดค่าได้โดยสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงภาษาจาวามีตัวแปรที่ใช้สนธิกันระหว่างตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์และตัวดำเนินการกำหนดค่าในครั้งเดียว เพื่อความสะดวกในการเขียนโปรแกรม เช่นy = y + 10สามารถเขียนแทนได้ด้วยy += 10

ตัวอย่าง
// IncrementOperator.java
public class IncrementOperator { public static void main(String[] args) {
int prefix = 0;
int postfix = 0;
System.out.println(“On the fly Prefix = “+ ++prefix);
System.out.println(“after addition Prefix = “+ prefix);
System.out.println(“On the fly Postfix = “+ postfix++);
System.out.println(“after addition Postfix = “+ postfix); }}

3. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Equality and Relational Operator) ใช้สำหรับเปรียบเทียบค่า 2 ค่า และจะ return ค่าออกมาเป็น boolean (true/false) ถ้าหากนิพจน์เป็นจริง ก็จะให้ค่า true ถ้านิพจน์เป็นเท็จ ก็จะให้ค่า false ข้อควรจำ
– เครื่องหมายที่มี 2 ตัว จะต้องเขียนติดกันเสมอ

– เครื่องหมาย >= (มากกว่าหรือเท่ากับ) และ <=(น้อยกว่าหรือเท่ากับ) จะต้องเขียนเครื่องหมายเท่ากับไว้ด้านขวาเสมอ

4. ตัวดำเนินการทางตรรกะ (Logical Operator) เมื่อต้องการตรวจสอบตัวดำเนินการเชิงเปรียบเทียบหลายๆ อัน จะใช้ตัวดำเนินการทางตรรกะในการตรวจสอบ

 

ใส่ความเห็น